วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บุรีรัมย์

นอกจากวันสำคัญทางศาสนา วันสงกรานต์ และวันขึ้นปีใหม่ ชาวบุรีรัมย์ยังมีขนบธรรมเนียมประเพณีหลายอย่าง เช่น เทศกาลเดือนห้า มีการทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวให้ผู้สูงอายุ มีการละเล่นพื้นบ้าน เช่น สะบ้า ชักเย่อ ฯลฯ บางท้องถิ่น เช่น อำเภอพุทไธสงจะมีการเซิ้งบั้งไฟ เทศกาลเข้าพรรษามีการประกวดเทียนเข้าพรรษา เทศกาลเดือนสิบสองมีประเพณีลอยกระทง แล้วยังมีงานประเพณีของชาวจังหวัดบุรีรัมย์ที่สืบต่อกันมาอีกหลายงาน
ประเพณีมหกรรมว่าวอีสานบุรีรัมย์ (Isan Grand Kite Tradition)
จัดขึ้นช่วง : วันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือน ธันวาคม
ช่วงฤดูเก็บเกี่ยวหรือย่างเข้าสู่ฤดูหนาว มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดแรง คนชนบทก็พากันทำว่าวแอก ซึ่งมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เล่นกันทุกหมู่บ้าน เป็นประเพณีการละเล่นของท้องถิ่นของชาวอีสานนานมาแล้ว บุรีรัมย์จัดมหกรรมว่าวอีสานขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2529 เพื่ออนุรักษ์เอกลักษณ์ของอีสานใต้ให้คงอยู่และเผยแพร่ให้เป็นทรู้จักกว้างขวาง เปิดโอกาสให้คนทุกตำบล ทุกหมู่บ้านทำว่าวแอกมาแข่งขันชิงรางวัลกัน ว่าวที่นำมาเข้าแข่งขันต้องมีขนาดปีกกว้าง 2 เมตร ครึ่งขึ้นไป ตัดสินกันที่ความสวยงาม เสียงแอกและลีลาของว่าวบนท้องฟ้า นอกจากนี้ มีการประกวดขบวนแห่ว่าวที่ยิ่งใหญ่สวยงาม ตอนค่ำมีมหรสพ การละเล่นและการแสดงสินค้าพื้นบ้าน งานมหกรรมว่าวอีสานจัดขึ้นที่สนามกีฬาจัง หวัดอำเภอห้วยราชในวัน เสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนธันวาคมของทุกปี
ประเพณีแข่งเรือยาวจังหวัดบุรีรัมย์ (Buri Ram Long Boat Races)
จัดขึ้นช่วง : วันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี
เป็นงานประเพณีประจำปี กำหนดจัดในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลากในลำน้ำมูล ชาวเรือบุรีรัมย์และจาก จังหวัดต่าง ๆ มาร่วมชุมนุมประลองฝีพายที่สนามแข่งเรือหน้าที่ว่าการอำเภอสตึก เพื่อแข่งขันความเป็นเจ้ายุทธจักรแห่งลำน้ำมูล ในแต่ละปีมีจำนวน เรือเข้าแข่งไม่น้อยกว่า 40-50 ลำ และยังมีขบวนเรือตกแต่งแฟนซีงดงามด้วย ประเพณีแข่งเรือยาวที่สนามแห่งนี้ เดิมเป็นประเพณีท้องถิ่นสังสรรค์กัน ในหมู่ญาติมิตรและสักการะเจ้าพ่อวังกรุด ซึ่งเป็นชื่อวังน้ำวนช่วงหนึ่งของแม่น้ำมูล ต่อมาได้จัดเป็นงานประเพณีของจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นมา
งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง (Khao Phanom Rung Festival)
จัดขึ้นช่วง : วันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือน เมษายน
ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นศาสนสถาน ในลัทธิพราหมณ์และ ได้รับการแปลงเป็นพุทธสถานในสมัยหลัง ช่วงที่ถูกทิ้งร้างอยู่มีผู้นำพระพุทธบาทจำลองไปประดิษฐานไว้ที่ปรางค์น้อยบนเขา กลายเป็นประเพณีของชาวบ้านรอบ ๆ บริเวณนั้นพากันขึ้นไปนมัสการปิดทองรอย พระพุทธบาทนี้รวมทั้งไหว้พระทำบุญในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี เนื่องจากปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นโบราณสถานที่ยี่งใหญ่สวยงามและเป็นประเพณีแต่ดั้งเดิม จังหวัดจึงได้ส่งเสริมให้มีงานประเพณีในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนเมษายน โดยจัดกิจกรรมต่างๆ อันเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณ ได้แก่ ขบวนแห่ราชประเพณีขอมโบราณ การแสดงแสง-เสียง ย้อนรอยอดีตพนมรุ้ง และการแสดงระเบิดภูเขาไฟจำลอง
งานนมัสการพระเจ้าใหญ่ที่วัดหงษ์ (Phra Chao Yai Wat Hong Fair)
จัดขึ้นช่วง : เดือนมีนาคม
บ้านศีรษะแรด ตำบลมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จัดงานในวันเพ็ญเดือน 3 เป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก เพราะพระเจ้าใหญ่เป็นพระพุทธรูปที่ชาวบุรีรัมย์และชาวอีสาน ทั่วไปเลื่อมใส ศรัทธามาก การเดินทางไปวัดหงษ์ จากตลาดพุทไธสง ถึงทางแยกเลี้ยวขวา ใช้เส้นทางที่จะไปพยัคฆภูมิพิสัย ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร และ มีทางแยกเข้าวัดอีก 2 กิโลเมตร
งานนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง (Lord Buddha’s Footprint Replica)
จัดขึ้นช่วง : วันเพ็ญเดือน 3
ที่เขากระโดง อำเภอเมือง จัดงานในวันเพ็ญเดือน 3 เช่นกัน ประชาชนจะไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจำลองและพระสุภัทรบพิตร ตลอดจนเที่ยวงานกันอย่างคับคั่ง
งานเครื่องเคลือบพันปีประเพณีบ้านกรวด (Jobs millennial tradition Kruat porcelain)
จัดขึ้นช่วง : เดือนเมษาของทุกปี
ในอดีตสันนิษฐานว่าพื้นที่อำเภอบ้านกรวดเคยมีความเจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และเป็นศูนย์กลางในการผลิต เครื่องเคลือบโบราณ ที่เรียกว่า "เครื่องถ้วยบุรีรัมย์" ส่งไปจำหน่ายยังหัวเมืองต่างๆ อำเภอบ้านกรวดยังมีแหล่งเตาเผาเครื่องเคลือบ โบราณประมาณ 100 เตาซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรือง ความชาญฉลาดและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้สร้างสรรค์งานศิลปะไว้ พร้อมทั้งชาวอำเภอบ้านกรวดตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภูมิปัญญามรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่น มีการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้ และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

การละเล่นพื้นบ้าน

การละเล่นพื้นบ้าน
  จังหวัดบุรีรัมย์เป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมทั้งนี้เป็นผลมา จากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
 ของจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งมีเขตติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา มหาสารคาม สุรินทร์ และประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเขมรต่ำ
 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดบุรีรัมย์ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทั้แบบไทยภาคกลางจากจังหวัดนครราชสีมา ไทยอีสานากเขตติดต่อด้านจังหวัด
 มหาสารคามและวัฒนธรรมเขมรจากทางด้านจังหวัด สุรนิทร์และประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย และการละเล่นของชาวบุรีรัมย์ก็มีทั้งที่เป็นแบบ
 ไทยกลาง ไทยลาวและไทยเขมร โดยเฉพาะการละเล่นแบบไทยเขมร โดยเฉพาะการละเล่นแบบไทยเขมรดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับ
 การละเล่นในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ ทั้งนี่เพราะดินแดนแถบนี้มีลักษณะวัฒนธรรมเป็นแบบไทยเขมรด้วยกันการละเล่นดังกล่าวมีราย
 ละเอียดดังนี้
1. เพลงพื้นบ้านกันตรึม
  จุดมุ่งหมายของการเล่นกันตรึม สงบ บุญคล้อย (๒๕๒๒ : ๙๐ ) กล่าวว่า จุดมุ่งหมายการเล่นกันตรึม ว่า 
 1. เล่นตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ได้แก่ โจลมะม็วดบองบ็อด เป็นการทรงเจ้าเข้าผี 
 2. เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเกี่ยวกับงานมงคลต่าง ๆ เช่น ทำบุญบ้าน บวชนาค โกนจุก บุญฉลองอัฐิ และบุญกฐิน
 3. เล่นเพื่อเฉลิมฉลองในงานประจำปี เช่น ปีใหม่ สงกราต์ ลอยกระทง และเทศกาลรื่นเริง ประจำปีอื่น ๆ
 4. เล่นเพื่อเป็นการรักษาศิลปะ ประเพณีการละเล่นพื้นบ้านมิให้สูญหาย
 5. เล่นเพื่อเป็นการส่งเสริมหารแสดงด้านดนตรี เพราะถือว่ากันตรึมเป็นดนตรีที่มีความสำคัญมาแต่โบราณและเป็นดนตรีถือว่ามีความ
 ไพเราะเข้าถึงจิตใจ ของผู้ฟังมากกว่าดนตรีประเภทอื่น ๆ
        
  ในชุมชนที่ใช้ภาษาเขมรในเขตอีสานใต้ ซึ่งได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ในสมัยโบราณ โดยเฉพาะงาน
 แต่งงาน ถือว่าจะขาดดนตรีกันตรึม เจ้าสาวบางคนถึงกับวางเงื่อนไขว่าหากไม่เอากันตรึมมากล่อมหอ จะไม่ยอมร่วมหอลงโรงด้วยและถึง
 กับมีการเลิกร้างการแต่งงานกลางคันก็มี เพราะถือว่าไม่สมบูรณ์แบบ ทำให้เจ้าสาวเสียขวัญและกำลังใจ หรืออาจจะมีอันเป็นไปอย่างใด
 อย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งหมายถึง ซึ่งหมายถึงการหย่าร้างหรือพลัดพรากจากกันจะเห็นว่ากันตรึมก็มีรูปแบบการเล่น เช่นเดียวกับการเล่นดนตรี
 ของไทยภาคกลางคือเมื่อก่อนจะเล่นต้องมีการไหว้ครู เพื่อให้เป็นศิริมงคลแก่ผู้เล่น หลังจากไหว้ครูเสร็จแล้วจึงเริ่มเล่น โดยนักแสดงจะ
 ต้องเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครูก่อน เช่นกันหลังจากนั้นจึงร้องบทต่าง ๆ ไป เนื้อหาที่ร้องส่วนใหญ่เป็นการเกี้ยวพาราสีกัน และร้องโต้ตอบกัน
 ระหว่างฝ่ายขายและฝ่ายหญิง เช่นเดียวกับการเล่นพื้นเมืองของภาคกลาง เช่น รำตัด หรือเพลงสักวา สำหรับภาษาที่ใช้ร้องส่วนมากจะใช้
 ภาษาไทยเขมร กลอนที่ร้องส่วนมากจะใช้การท่องจำกลอนร้องที่ ตกทอดกันม
  กันตรึมเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมมาก ในเขตอีสานใต้ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และสุรินทร์ กัน
 





 ตรึมเป็ฯการละเล่นที่ใช้ภาษาในการขับร้องเป็นภาษาเขมร มีบทร้องทำนองสนุกสนาน ประวัติความเป็นมาของกันตรึม สงบ บุญคล้อย
 (๒๕๔๖ : ๑๖๒ )กล่าวว่า กันตรึมหรือโจ๊ะกันตรึม เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวอีสานใต้ เป็นการละเล่นที่มีดนตรีประกอบ และ
 ถือว่าดนตรีประกอบ และถือว่าดนตรี มีความสำคัญและมีบทบาทมากที่สุด ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ส่วนคำร้องเป็นของชาวเขมรสูงที่มี
 ในสามจังหวัด คือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ การเล่นกันตรึมได้รับความนิยมมากในแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์และศรีสะเกษ จากการ
 สืบประวัติการเล่นกันตรึมไม่ค่อยได้รายละเอียดมากนัก ทราบแต่เพียงว่าการเล่นแบบนี้ได้รับการถ่ายทอดมาแต่ขอม แต่เดิมการเล่นใช้
 สำหรับประกอบการบวงสรวงเวลามีการทรงเจ้าเข้าผี หรืองานพิธีกรรมก็ใช้ดนตรีกันตรึม บรรเลงกันเป็นพื้นบ้าน ซึ่งต่างกันในจังหวะลีลาจะ
 แตกต่างกันไปตามพิธีแต่ละงาน กล่าวคืองานแต่งงานก็บรรเลงอย่างหนึ่ง งานศพอย่างหนึ่ง และเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงก็ต้องให้เหมาะ
 สมกับงาน แต่ถ้าเป็นงานศพก็มักจะใช้ปี่อ้อ(แป็ยออ) มาบรรเลง แต่ถ้าเป็นงานแต่งงานมักใช้ปี่เตรียงหรือ ปี่เญ็นแทนปี่อ้อ เป็นต้น
2. เรือมลูดอันเร (รำกระทบสาก)
  สงบ บุญคล้อย (๒๕๒๑ : ๙๘ - ๑๐๐) กล่าวว่า ประเพณีการเล่นเรือมลูดอันเรนี้เป็นมรดกตกทอดสืบมาแต่โบราณ
 ไม่สามารถสืบทราบได้ว่าใครเป็นผู้คิดขึ้น จากปากคำของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อกันมาว่า การเล่นเรือมลูดอันเรนี้ เดิมไม่มีจังหวะจะโคนอะไร ต่อมา
 ได้วิวัฒนาการจน เป็นจังหวะลีลาอ่อนช้อย สวยงาม เข้าใจว่าในสมัยโบราณในยามค่ำคืนที่เสร็จสิ้นภาระกิจประจำวันสาว ๆ ก็พากันตำข้าวกับครก
 ใบใหญ่ หนุ่มที่ว่างงานก็เดินเป่าขลุ่ยมาเกี้ยวสาวตามที่ดังกล่าว พอเสร็จงานตำข้าวหนุ่มสาวก็พากันเล่น กระทบสากเพื่อความสนุกสนานให้เป็น
 จังหวะ (เดิมยังไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ) หนุ่มที่อยากแสดงความสามารถอวดสาว ๆ ก็จะ รำเข้าสากที่เรียกกันว่า “ลูดอันเร” (ลูดหมาย
 ความว่ากระโดดข้ามเข้า อันเร แปลว่า สาก) ส่วนหนุ่มสาวคู่อื่น ๆ ก็จะรำอยู่นอกวง แต่ถึงอย่างไรในตอนนั้นก็รำไปเรื่อย ๆ เอาสนุก โดยไม่มี
 จังหวะเป็นมาตรฐานอย่างปัจจุบันต่อมาการเล่นแบบนี้แพร่หลายกันไปมากจึงมีผู้คิดกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้น คือให้เล่นได้เฉพาะเดือน ๕ ซึ่ง
 เรียกเป็นภาษาพื้นเมืองว่า “แคเจตร” (แจตร-จิตรมาส)การเล่นมีระยะเวลา ๑ เดือนเต็มในเดือนนี้เป็นเดือน ที่จะต้องมีการหยุดทำการ
 งานทุกอย่าง ผู้หญิงจะหยุดทอผ้าผู้ชายจะหยุดเลื่อยไม้ เป็นต้น การหยุดนี้ถือเป็นธรรมเนียมของชาวพื้นเมือง ที่ถือกันมาแต่โบราณ การหยุดดนี้
 ชาวบ้านเรียกว่า “ตอม”(ตอม หมายความว่า งดเว้น) และยังถือกันว่าเมื่อถึง“แคเจตร” แล้วไม่หยุดงาน ผู้ใดยังดื้อดึงทำงานอยู่จะไม่
 เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองบางที่อาจถึงฟ้าผ่าตายได้ด้วยสาเหตุที่ต้องหยุดงานตามประเพณีนี้เองจึงทำให้มีเวลา ว่างมากจึงมีการละเล่นสนุกอย่าง
 อื่น ๆ อีก เช่นการละเล่นสะบ้าเล่นสงกรานต์ และการเรือมตรด เป็นต้น
3. กะโน๊บติงตอง (ระบำตั๊กแตนตำข้าว)
  กะโน๊บติงตอง เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมกันมากในแถบอิสานใต้ แหล่งกำเนิดของการรำชนิดนี้ คือที่จังหวัด
 สุรินทร์ เป็นการเล่นที่เลียนแบบลีลาการกระโดดเคลื่อนตัวของตั้กแตนตำข้าว ซึ่งเป็นลำตัวสีเขียว ดังนั้นผู้เล่นจึงต้องแต่งตัวเลียนแบบตัวตั๊กแตน
 และสวมหัวตั๊กแตน มีลูกตาเป็นลักษณะเหมือนตั๊กแตนทุกประการ ประวัติความเป็นมา สงบ บุญคล้อย (๒๕๒๑ : ๑๐๒ - ๑๐๔) กล่าว
 ว่า มีเรื่องเล่าว่าชาวนาคนหนึ่งชี่อ ตาเหมือน มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านรำเบอะ ตำบลไพล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ กลับจากป่ามาจะได้สัตว์หรือ
 ไม่ได้ก็ไม่เคยเป็นกังวลอะไร จะถูกภรรยาด่าว่าก็ยิ้มรับเสมอ เพราะท่าน มีอุปนิสัยเป็นคนเยือกเย็น วันหนึ่งท่านได้ออกไปดูข้าวที่ทุ่งนาและได้เอา
 ไซไปดักปลาด้วยเมื่อเอาไไซไปว่างดักปลาแล้วก็ได้พักผ่อนอยู่ใต้ร่มไม้ริมลำธาร นั่งเอนหลังพิงต้นไม้อย่างสงบ และได้เพ่งสายตาไปยังทุ่งนา มอง
 ดูข้าวที่กำลังงามเขียวชอุ่ม ในขณะนั้นได้เห็นตั๊กแตนตำข้าวสองตัวเกาะ อยู่บนใบข้าวตั๊กแตนสองตัวนั้นกำลังหนหน้าเข้าหากัน ทำท่าเหมือนกำลัง






 เกี้ยวพาราสีกัน ท่านพยายามเพ่งสายตามมองและ เกิดความประทับใจในท่าทางต่าง ๆ ของมัน ทำให้เกิดความคิดว่าถ้าหากนำลักษณะการเต้น
 ของมันไปประยุกต์ในทางร่ายรำของคนคงจะดีไม่น้อย ท่านจึงได้สังเกตจดจำท่ารำของตั้กแตนตำข้าวทั้งสองตัวนี้ไว้อย่างละเอียดลออ เมื่อกลับถึง
 บ้านตาเหมือนจึงได้จัดให้เด็กลายคนเต้นตามลีลาที่แกบอก แต่การเต้นในระยะแรก ๆ ของเด็กดังกล่าวยังไม่มีการสวมชุดดังการเล่นในปัจจุบัน
 การละเล่นแบบนี้เริ่มเป็นแบบอย่างขึ้นที่หมู่บ้านนั้น ต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่บ้านอื่น เริ่มมีการสวมชุดเหหมือนตั๊กแตนตัวจริงต่อมาครูใหญ่
 โรงเรียนปราสาทศึกษาคารในสมัยนั้น ได้ทดลองเป็นหมู่ เป็นที่ประทับใจแก่คนดูเป็นอันมาก ต่อมาจึงได้จัดส่งการแสดงไปเล่นในงานช้างจังหวัด
 สุรินทร์ การแสดงดังกล่าว จึงแพร่หลายตลอดมา
4. มโหรีอีสานใต้
  การละเล่นพื้นเมืองของชาวอีสานใต้ที่ได้รับการสืบทอดมาแต่โบราณอีกประเภทหนึ่ง คือ การละเล่นมโหรี ซึ่งยังคงนิยมอยู่
 ในปัจจุบัน และยังเป็นดนตรีที่เป็นพื้นฐานของเล่นอื่น ๆ เช่น อาไยกระโน้บติงตอง กันตรึม การเรือมลูดอันเร บรรเลงประเกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
 เช่น โจลมะม๊วด บ็องบ็อด ประกอบทั้งการประโคมในงานพิธีต่าง ๆ ทั้งงานมงคลและอวมงคล เช่น งานแต่งงาน ทอดกฐิน ขึ้นบ้านใหม่ การ
 โกนจุก งานทำบุญศพ เป็นต้น
5. เจรียง
 
  เจรียงเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวอีสานใต้มีลักษณะเหมือนกับหมอลำหรือเพลงโคราชนั่นเองดนตรีที่ใช้ประกอบใน
 การเจรียง หรือ แคน การเจรียง ประกอบด้วย ฝ่ายชาย ๑ คน และฝ่ายหญิง ๑ คน และคนเป่าแคนอีก ๑ คน เจรียงโต้ตอบกันไปมา การเจรียง
 จะเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู ปฏิสันธารกับผู้ฟัง และเจรียงเป็นการบอกกล่าวถึงความสำคัญของงานนั้น ๆ ว่ามีการบำเพ็ญกุศลอะไร มีอานิสงส์อย่าง
 ไร บางครั้งก็มีการยกนิทานประกอบก็ได้บางครั้งการเจรียงอาจเป็นเชิงกระทู้ถามคือฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ถามอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตอบ
 ทำนองการ ปุจฉา –วิสัชนา หลังจากนั้นจึงเจรียงโดยทั่วไป ลักษณะการเจรียงในตอนหลังจะเพิ่ม รสสนุกสนานด้วยการใช้คำเป็นที่พออกพอใจ
 แก่ผู้ฟัง เรียกเสียงเฮฮา จึงมักเป็นหยอกล้อกระทบกระเทียบกระเดียดไปทางตลกคะนองตามแบบฉบับของการละเล่นพื้นเมืองโดยทั่วไป การ
 เจรียงแบบนี้บางที เรียกว่า “ เจรียงเบริน” มีการเจรียงอีกประเภทหนึ่งที่เคยได้รับความนิยมมาก คือ การเจรียงนิทาน ผู้เจรียงจะนำ
 นิทานเก่า ๆ มาเจรียง เช่น กดามซอ (ปูขาว) ซังเซลจ็อย (สังข์ศิลป์ชัย) ฯลฯ มาเจรียง การเจรียงแบบนี้ได้รับความนิยมเท่ากับกันตรึม
 ลักษณะการเล่นคล้าย ๆ หมอลำ คือ มีแคนประกอบ ภาษาที่ใช้ภาษาเขมร ปัจจุบันคนที่เล่นเจรียงได้มักเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งนับวันก็จะหมดไป
6. ระบำตลอก (ระบำกะลา)
  สงบ บุญคล้อย (๒๕๒๑ : ๑๐๙ - ๑๑๐) กล่าวว่า ระบำตลอกนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ อันเป็นผล
 มาจากความนิยมของชาวบ้านในการปลูกมะพร้าวในแถบอีสานใต้มีลักษณะอย่างหนึ่ง ที่แตกต่างกันไปจากชาวอีสานโดยทั่ว ๆ ไป คือหมู่บ้าน
 จะมีต้นมะพร้าวขึ้นร่มครึ้ม ความนิยมปลูกมะพร้าวมีมาแต่โบราณ เขาถือกันว่า เมื่อลูกหลานแต่งงาน พ่อแม่จะมอบที่ดินให้ทำกิน และเป็นที่
 ปลูกบ้าน ก่อนอื่นจะปลูกมะพร้าวไว้ก่อน การปลูกมะพร้าวเป็นการแสดงถึงการแสดงถึงความมั่นคงเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ เพราะการปลูกมะพร้าว





 ในภาคอีสานนั้นปลูกยากกว่าจะขึ้นต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ มีความอดทนขยันหมั่นเพียร ดูแลรักษากว่าจะมี ลูกให้กินได้ต้องใช้เวลาหลายปี
 การปลูกมะพร้าวถือเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งในการขึ้นโคกใหม่ดังนั้นในแถบหมู่บ้านชาวอีสานใต้จึงมีมะพร้าวขึ้นเขียวชะอุ่ม หลังจากเก็บ
 เกี่ยวข้าวแล้วจัดเป็นระยะเวลาที่ว่างงานจะเข้าสู่เดือนหยุดงาน หนุ่มสาวจะนั่งขัดกะลามะพร้าวกันที่ลานบ้าน กะลามะพร้าวที่ขัดนี้สามารถนำ
 ไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำทัพพี ทำกระบวยตักน้ำ ฯลฯ ตอนนี้หนุ่มสาวจะเจียดมะพร้าว ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ประโยชน์ในการร่ายรำสนุก
 สนาน การร่ายรำด้วยกะลามะพร้าวมีเคล็ดอยู่ว่าถ้าคู่ใดรำแล้วสามารถเคาะกะลามะพร้าวแตกคู่นั้นคาดว่าจะได้แต่งงานกัน เล่นกันหลังฤดูเก็บ
 เกี่ยวเสร็จแล้ว เพื่อเป็นการฉลองความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาที่ได้แสดงความสามัคคีที่ชาวบ้านช่วยกันลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นการรื่นเริง
 ชนิดหนึ่ง
7. ดงลำไย
  ดงลำไย เป็นการละเล่นของชาวเมืองบุรีรัมย์ ในอดีตที่เคยได้รับความนิยมมาก แต่ปัจจุบันแทบจะไม่มีให้เห็น ได้ยินแต่คน
 เฒ่าคนแก่เล่าบอกต่อกันมา สาเหตุที่เรียกว่า ดงลำไย เพราะการแต่งเนื้อร้องคำสุดท้ายของวรรครับจะต้องลงท้ายด้วยเสียงสระไอ จะเห็นว่าดง
 ลำใยเป็นการละเล่นพื้นเมืองอีกชนิดหนึ่งของชาวพื้นเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ การละเล่นชนิดนี้จะแพร่หลายในกลุ่มชาวไทยโคราช ในเขตอำเภอ
 นางรอง หนองกี่ อำเภอเมือง ซึ่งเป็นเขตที่มีกลุ่มไทยโคราชอยู่มาก ลักษณะการเล่นดงลำไยจะคล้ายกับเพลงฉ่อยของไทยภาคกลาง ภาษาที่
 ใช้ก็ใช้ภาษาไทยกลางเป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่างชายและหญิง ทำนองเกี้ยวพาราสีกัน และจะมีสร้อยลงท้ายด้วยเสียงสระไอส่วน สร้อยเพลง
 จะมีคำว่า ดงไหนเอยฮาเอ้ยลำไย กลอนเพลงจะแสดงไหวพริบปฏิภาณของคนร้อง ปัจจุบันการเล่นชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยม ผู้ร้องดงลำไย
 ส่วนใหญ่จะเป็นคนสูงอายุซึ่งนับวันจะหมดไปจึงควรที่ผู้สนใจเรื่องเพลงพื้นบ้านจะได้เก็บรวบรวมข้อมูลของการละเล่นชนิดนี้เอาไว้ เพื่อได้นำ
 กลับมาฟื้นฟูอีกครั้งเพื่อเป็นการอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านเหล่านี้ให้คงอยู่ตลอดไป

การละเล่นของชาวไทยเขมร บุรีรัมย์

การละเล่นของชาวไทยเขมร บุรีรัมย์ 

    การละเล่นและการแสดงพื้นเมืองของชาวไทยเขมร จ.บุรีรัมย์
        จ.บุรีรัมย์แหล่งที่มีการละเล่นพื้นบ้านที่สำคัญ ได้แก่ อ.ประโคนชัย ทั้งการแสดงพื้นบ้านในพิธีกรรมรักษาคนไข้เรียกว่า เรือนปันโจลหรือรำเทพประทับทรง เรือมตลอกหรือรำกะลา เรือมก็อนเตียลหรือรำทอเสื่อ เรือมจับกรับ (จารีรัตน ปรกแก้ว และคณะ ใน เอกสารวิชาการราชภัฎบุรีรัมย์ฉบับปฐมฤกษ์ มหกรรมวัฒนธรรม 2541, 2541 : 30)

ลิเกเขมร
       โดยเฉพาะที่ อ.ประโคนชัย คณะที่นิยมมาแสดงบ่อย ๆ คือ คณะของตาเผือก ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านไทร การเล่นเหมือนลิเกทั่วไป แต่ลิเกเขมรจะใช้ดนตรีเฉพาะรำมะนาเท่านั้น เรื่องที่แสดงส่วนมากเป็นเรื่องจักร ๆ วงศ์ๆ เช่น จันทโครพ ลักษณวงศ์ สุวรรณล่องลอย ฯลฯ บทร้องเป็นภาษาเขมรทั้งหมด (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ,2544 : 132)

การเล่นกันตร๊อบเมือน หรือ ปรบไก่
          เป็นการละเล่นที่นิยมมากในงานเผาศพขึ้นบ้านใหม่ บวชนาค ฉลองพระปีใหม่เป็นต้น คล้ายการร้องเพลงโคราช แบ่งผู้เล่นเป็นฝ่ายชายฝ่ายหญิง ข้างละ2-3 คน ร้องเป็นนิทานเกี้ยวพาราสี บทตลกเฮฮา อวยพร แต่ไม่มีดนตรีประกอบ มีเฉพาะการปรบมือและตีจังหวะเท่านั้น การละเล่นชนิดนี้เกิดขึ้นในกัมพูชา มาเผยแพร่ครั้งแรกที่ อ.บ้านกรวดแล้วค่อยขยายไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ จนทั่ว อ.ตะลุง ซึ่งปัจจุบันคือ อ.ประโคนชัยจนกลายเป็นการละเล่นพื้นบ้านของที่นี่ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ,2544 : 133)

มโหรีเขมร
       มโหรีเขมรของป้าพลอยลาดประโคนและป้าคำเรียบ สุทันรัมย์ แห่งบ้านสะเดาต.สะเดา อ.พลับพลาชัย จ.บุรีรัมย์ เป็นวงดนตรีที่สืบเชื้อสายมาจากราชสำนักเขมร เนื่องจากคุณพ่อของป้าพลอยและป้าคำเรียบอพยพมาจากประเทศกัมพูชาเกือบสองชั่วอายุคน เครื่องดนตรีที่ใช้ ได้แก่ จะเข้ กระจับปี่(จับเปย) ซอ กระดงเต่า กลอง ปี่ กรับ ล้วนแล้วแต่ประดิษฐ์ขึ้นเองทั้งสิ้น ทุกคนในวงดนตรีล้วนแต่เป็นญาติพี่น้องกันทั้งสิ้น มีอาชีพทำไร่ ทำนา จะรวมตัวกันเมื่อมีการออกงานหรือมีการว่าจ้าง งานที่รับมักเป็นงานเกี่ยวกับพิธีกรรม ทรงเจ้าเข้าผี งานมงคลต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ งานบวช งานแต่ง เป็นลักษณะงานที่มีแบบแผนประเพณีที่จำเป็นต้องมีวงมโหรีประกอบ (องค์บรรจุน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 พฤศจิกายน 2547 หน้า 64-65)


เพลงกล่อมเด็ก
        เพลงกล่อมเด็กที่มีชื่อเสียงของจ.บุรีรัมย์ คือ เพลงกล่อมเด็ก ของ ป้าพลอย ลาดประโคน ต.สะเดา อ.พลับพลาชัย (จารีรัตน ปรกแก้ว และคณะใน เอกสารวิชาการราชภัฎบุรีรัมย์ ฉบับปฐมฤกษ์ มหกรรมวัฒนธรรม 2541, 2541 : 31)

การร้องเพลงอมตูก (พายเรือ) อุปกรณ์การเล่นมีกลอง ขลุ่ย
    การร้องเพลงกันเจก(กันจันเจกะเขียดตาปาด) เป็นการร้องเล่นสนุกสนาน ขณะที่ร้องจะเต้นไปด้วยการร้องกำแป็ดแปแล นิยมร้องเวลามีคนมารวมกันมาก ๆเพื่อความสนุกสนานการร้องอายัย มีลักษณะเดียวกันกับการร้องกำแป็ดแปแล มีเครื่องดนตรีประกอบ เช่น ขลุ่ย ซอ กลอง ฯลฯ
(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ,2544 : 133-134)

การแสดงนาฏศิลป์ ได้แก่

เรือมจับกรับ หรือ รำจับกรับ 
        เป็นการแสดงพื้นบ้านชนิดหนึ่ง การแสดงมีทั้งชายและหญิง ทุกคนถือกรับประกอบการแสดง เดิมเป็นการแสดงไม่มีรูปแบบ คือมีการเล่นกรับประกอบกับการรำ ภายหลังสถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ร่วมกับภาควิชานาฏศิลป์ได้นำการละเล่นนี้มาฟื้นฟูและมีการจัดรูปแบบเป็นของตนเองมากขึ้น ใช้แสดงในการรื่นเริงและงานประจำปี เพลงที่ใช้ในการแสดงมีลักษณะเป็นเพลงพื้นบ้านของอีสานใต้เช่น เพลงอายัย เพลงกันตุ๊บ เพลงปะการันเจก (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ,2544 : 135-136)

เรือมก็อนเตียบ (ระบำเสื่อ) 
        การทอเสื่อเป็นอาชีพพื้นบ้านอย่างหนึ่งของคนอีสาน หมู่บ้านโคกเมืองเป็นที่ ๆมีการทอเสื่อสวยงามมาก ทางวิทบาลัยครูบุรีรัมย์ ภาควิชานาฏศิลป์ จึงคิดจะเผยแพร่ขั้นตอนการทอเสื่อโดยคิดประดิษฐ์เป็นการแสดงชุดนี้ ขั้นตอนการแสดงมีตั้งแต่การชักชวนไปถอนกก นำมาล้าง ตัดกก เหลากก มัดกก ตาก แล้วนำมาทอ การแสดงไม่มีอุปกรณ์แต่ใช้ลีลาท่าทางในการสื่อ ใช้ดนตรีพื้นเมืองในวงกันตรึม และใช้เพลง แฮเนี้ยก (แห่นาค) ประกอบ (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ,2544 : 136)

เรือมตลอก (รำกะลา) 
     สืบเนื่องมาจากความนิยมในการปลูกมะพร้าวกันทุกบ้านในแถบอีสานใต้ แต่การปลูกมะพร้าวในภาคอีสานนั้นปลูกยาก ต้องคอยเอาใจใส่เป็นพิเศษ การระบำกะลาเป็นที่นิยมมากในสมัยโบราณ แต่ปัจจุบันค่อย ๆ สูญหายไป ศูนย์วัฒนธรรมจึงมีโครงการศึกษารวบรวมท่ารำมาปรับปรุงให้เข้ากับลักษณะท้องถิ่น การรำชนิดนี้เป็นลักษณะของการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมแถบชายแดนติดต่อระหว่างเขมรไทย การสืบค้นจึงสืบค้นจากศิลปินเขมรหรือคนเขมรที่เข้ามาอยู่ในไทยเช่น ที่ค่ายสันติสุข อ.บ้านกรวด และจากคุณป้าละม่อม เคยเป็นศิลปินเขมร เข้ามาอยู่ที่ประโคนชัย (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ,2544 : 137-138)

เรือมปันโจล
        เป็นการแสดงพื้นบ้านที่แทรกอยู่ในพิธีกรรมบองบ๊อด (รักษาคนไข้) (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : 139)

กันตรึม 
      เดิมใช้สำหรับขับประกอบการเซ่นบวงสรวงเวลามีการทรงเจ้าเข้าผี ปัจจุบันใช้เล่นเพื่อความบันเทิงและได้รับความนิยมมาก ความไพเราะอยู่ที่เสียงของผู้ร้องและความไพเราะของดนตรี (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ,2544 : 142)

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

เขื่อนลำนางรอง เขื่อนลำนางรอง ตั้งอยู่แยกจากอนุสาวรีย์เราสู้ไป 200 เมตร เป็นพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงตามพระราชดำริ เขื่อนลำนางรองเป็นเขื่อนดิน มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนสำหรับชมทัศนียภาพ และมีร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำ นอกจากเขื่อนนี้จะเก็บน้ำไว้ใช้ในด้านการเกษตรแล้ว ยังได้รับการปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีบ้านพักรับรอง ห้องประชุม และค่ายพักแรม ติดต่อสำนักงานโครงการส่งน้ำและ บำรุงรักษาลำนางรองซึ่งอยู่ก่อนถึงสันเขื่อน ในเวลาราชการ โทร. 0 4460 6336 ในบริเวณเดียวกันยังมีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป (ดอยคำ) ผลิตผักผลไม้กระป๋องอาทิ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ และน้ำมะเขือเทศ สถานที่ตั้ง: เขื่อนลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์

เขื่อนลำนางรอง

เขื่อนลำนางรอง เขื่อนลำนางรอง ตั้งอยู่แยกจากอนุสาวรีย์เราสู้ไป 200 เมตร เป็นพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงตามพระราชดำริ เขื่อนลำนางรองเป็นเขื่อนดิน มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนสำหรับชมทัศนียภาพ และมีร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำ นอกจากเขื่อนนี้จะเก็บน้ำไว้ใช้ในด้านการเกษตรแล้ว ยังได้รับการปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีบ้านพักรับรอง ห้องประชุม และค่ายพักแรม ติดต่อสำนักงานโครงการส่งน้ำและ บำรุงรักษาลำนางรองซึ่งอยู่ก่อนถึงสันเขื่อน ในเวลาราชการ โทร. 0 4460 6336 ในบริเวณเดียวกันยังมีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป (ดอยคำ) ผลิตผักผลไม้กระป๋องอาทิ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ และน้ำมะเขือเทศ สถานที่ตั้ง: เขื่อนลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์

เขื่อนลำนางรอง

เขื่อนลำนางรอง ตั้งอยู่แยกจากอนุสาวรีย์เราสู้ไป 200 เมตร เป็นพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงตามพระราชดำริ เขื่อนลำนางรองเป็นเขื่อนดิน มีถนนลาดยางบนสันเขื่อนสำหรับชมทัศนียภาพ และมีร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำ นอกจากเขื่อนนี้จะเก็บน้ำไว้ใช้ในด้านการเกษตรแล้ว ยังได้รับการปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ มีบ้านพักรับรอง ห้องประชุม และค่ายพักแรม ติดต่อสำนักงานโครงการส่งน้ำและ บำรุงรักษาลำนางรองซึ่งอยู่ก่อนถึงสันเขื่อน ในเวลาราชการ โทร. 0 4460 6336 ในบริเวณเดียวกันยังมีโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป (ดอยคำ) ผลิตผักผลไม้กระป๋องอาทิ ข้าวโพดอ่อน หน่อไม้ และน้ำมะเขือเทศ
สถานที่ตั้ง: 
เขื่อนลำนางรอง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์

ภาษานางรอง

 ภาษานางรอง
พอดีเก็บของเสร็จแล้ว เลยจะมาชวนไปเที่ยวแถวบ้านหน่อยครับ บ้านเกิดผมอยู่ที่บ้านหนองยายพิมพื ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยมากคนทั่วไปมักติดว่าคนบุรีรัมย์เป็นไทยเขมร แน่นอนครับไทยเขมรอยู่แล้ว แต่มีประมาณ18% เท่านั้น แต่ไทยลาวเยอะกว่าครับ ประมาณครึ่งของพลเมืองบุรีรัมย์อีกประมาณ 30 % เป็นชาติพันธ์ผมเองไทยโคราช(สำเนียงนางรอง)อีก2% เป็นชาวไทยส่วย หรือกูย
เท้าความให้นิดนึง
ผมเป็นชาวไทยโคราชครับ บรรพบุรุษมาจากเมืองปักธงชัย ปัจจุบันคือ อ.ปักธงชัย ขึ้นกับโคราชครับ เท่าที่ถามคนเก่าคนแกเพื่อถามรากเหง้าความเป็นมาของตัวเอง ได้ความว่า ตันตระกูลทางปูมาจาก เมืองปักธงชัย ส่วนต้นตระกูลทางย่ามาจากเขมรต่ำ ปัจจุบันคือแถวๆ เมืองพระนครที่ประเทศกัมพูชา
ต้นตระกูลย่าเป็นพ่อค้าปลาจากทะเลสาบโตนเลสาบของเขมร มาขายปลาในแถบเมืองโคราช เมืองนางรอง เมืองตลุง(ประโคนชัย ) มาตั้งหลักปักฐานที่บ้านถนนหัก เมืองนางรอง 
ต้นตระกูลปู่เป็นชาวนามาจาเมืองปักธงชัย อพยพพี่น้องมาอยู่เมืองนางรอง บริเวณบ้านจะบวก บ้านถนนหัก (ช่วงนั้นนางรองได้เป็นจังหวัดนางรอง ผู้คนบริเวณใกล้เคียงถูกกวาดต้อนให้มาอาศัยรวมกันให้เป็นเมืองใหญ่) 
 ผลของการอพยพทำให้ภาษา วัฒนธรรม ถูก ผสมผสานกัน หมู่บ้านผมเกิดหลังจากรุ่นปู่ทวดมาอาศัย เลี้ยงวัว ควาย ภาษาที่หมู่บ้านผมและชาวนางรองจะเหมือนกันครับ เป็นภาษาไทยนางรอง สำเนียงคล้ายไทยโคราชถูกครับ บางคำ บางศัพท์ไม่เหมือนกัน ที่ต่างกันเพราะ การกร่อนเสียง ผสมคำ เห็นได้จาก คำขวัญของอำเภอ

คำขวัญเมืองนางรอง  (เมืองโบราณนานเนา มะพร้าวเผา น้ำตาลหวาน ศาลหลักเมืองศักดิ์สิทธิ์ เศรษฐกิจก้าวหน้า ภาษานางรอง)
ที่สำคัญเจอกับผมเอง เพื่อนเป็นคนโคราชครับ  คุยกับคนละสำเนียง บางทีก็ไม่ถนัดจะฟังมันแปล่งหู ครับ
ที่บ้านผมพูดไทยโคราชสำเนียงนางรอง สำเนียงนางรองมันน่าจะเกิดจากการ กร่อนคำ ผสมคำและยืมคำมาใช้ หมู่บ้านผมพูดภาษานางรองจะอยู่ตรงกลางหมู่บ้านทางทิศเหนือจะพูดลาวอีสาน ทิศใต้จะพูดส่วย ทิศตะวันออกจะพูดเขมร
การยืมภาษาเขมามาใช้เห็นได้ชัด  เช่น คำว่า ประด็กฟ้อน  คือ  การพลิกกลับฟ่อนข้าวที่เปียกน้ำให้แห้ง หรือคำว่า ทวายท้อง  คือ อาการท้องอืด
การยืมภาษาลาวอีสานมาใช้เห็นได้ชัด  เช่น คำว่าสะหวอยเข่า  คือ  หิวข้าว   ไม่แม่น  คือ ไม่ใช่
ส่วนการยืมภาษาส่วยมานี้ยังไม่มีเพราะชาวส่วยพึ่งเข้ามาอาศัย

ตัวอย่างภาษานางรอง
ขวดกะฮวด
ทิศเหนือซีกหัวนอน
ทิศใต้ซีกปะตี๋น
ทิศตะวันตกซีกกะตก
ทิศตะวันออกซีกตะออก
มะละกอละกอ
ใบช้าพลูใบ๋สีพลู
น้อยหน่าแหน่
กล้วยน้ำว้ากล้วยเปลือกบ๋าง
เป็ดไข่เป๊ดป๊าบ
มวนท้องละมวนท่อง
น้ำมันหมูละมันหมู
ฝนโปรยๆฝนละลึมๆ
กวักน้ำกะวึ๊กน่าม
อะไรนะ?ไอ๋เหว่ย?
เด็กทารกแรกเกิดลูกงา
จมน้ำดึ๊กน่าม
มืดสลัวมืดสอึ๊บ
เขี่ยนหมากเขี่ยนหมาก
เฉอะแฉะแฉ่ะประแประ