วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติเขาอังคาร


  วัดเขาพระอังคาร  บ้านเจริญสุข ต.เจริญสุข อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ เป็นวัดที่สร้างมานานในยุคที่ขอมเรืองอำนาจแถวนี้  น่าจะสร้างในยุคเดียวกันกับปราสาทหินเขาพนมรุ้ง  ส่วนสถาบัตยกรรมสิ่งก่อสร้างที่เห็นในวัดปัจจุบัน  ส่วนใหญ่สร้างใหม่ทับของเก่า  ตัววัดตั้งอยู่ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 3 ก.ม.  ตั้งอยู่บนยอดเขาพระอังคารซึ่งสูงประมาณ 320 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีโบสถ์ที่ประยุกต์จากสถาปัตยกรรมหลายสมัย ดูสวยงามแปลกตา เป็นวัดที่สวยงามใหญ่โตแห่งหนึ่งของบุรีรัมย์ มีโบสถ์ ศาลา และอาคารต่างๆ
          เป็นวัดที่สร้างเลียนแบบสถาปัตยกรรมสมัยต่างๆ หลายรูปแบบงดงาม แปลกตาและน่าสนใจยิ่ง ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังและเรื่องราวพุทธชาดกเป็นภาษาอังกฤษด้วย บริเวณวัดเป็นปากปล่องภูเขาไฟคาดว่าเคยเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสมัยทวารวดีเพราะเสมาหินแกะสลักสมัยดังกล่าวหลงเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก

          เขาอังคารเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้วอีกลูกหนึ่งในบุรีรัมย์ อยู่ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ห่างจากปราสาทพนมรุ้ง 20 กิโลเมตร โดยลงมาจากพนมรุ้ง ถึงบ้านตาเป็กแล้วเลี้ยวซ้ายมาตามทางที่จะไปละหานทรายประมาณ 13 กิโลเมตรแล้วเลี้ยวขวาเข้าทางลูกรังอีกประมาณ 7 กิโลเมตรพบโบราณสถานเก่าแก่ และใบเสมาหินทรายสมัยทวารวดีสำคัญหลายชิ้น

  
ป้ายประชาสัมพันธ์                                                                                พระไสยาสน์หน้าวัด                                               ศาลาโถงขนาดใหญ่หลังพระนอน
  
ทางขึ้นไปโบสถ์                                                                                                กุฎิเก็บของ                                                                      พระสิวลี  (ลานจอดรถ)
  
โบสถ์ มองจากทิศเหนือ                                                                       โบสถ์ มองจากทิศใต้                                       โบสถ์ มองจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 

ตำนานเขาอังคาร           ภูเขาพระอังคาร เดิมชื่อ ภูเขาลอย เหตุที่เรียกว่าภูเขาพระอังคาร เพราะตามประวัติลายแทงธาตุพนม กล่าวไว้ว่า เมื่อ พ.ศ. ๘  ได้มีพญาทั้ง ๕ ได้นำพระอุรังคธาตุของพระพุทธเจ้าไปบรรจุที่พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม โดยมีพระมหากัสสปะเถระและพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ เป็นประธาน อีกพวกหนึ่งได้นำพระอังคารธาตุของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานบรรจุไว้บนภูเขาลอย  ตามประวัติว่าตามที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้วที่เมืองกุสินารา หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว โทณพราหมณ์ได้แจกพระธาตุไป ๘ พระนครแล้ว อยู่มามีเมือง ๆ หนึ่งไปขอพระธาตุทีหลังเขาพอดีพระธาตุได้แจกไปหมดแล้ว โทณพราห์มจึงเอาทะนานทองตวงเอาธาตุพระอังคาร (ขี้เถ้า) ให้มา  เมื่อได้พระอังคารธาตุจึงได้เดินทางกลับมาทางทิศอิสานใต้ พอถึงภูเขาลูกนึงคือภูเขาลอย มีรูปลักษณะสวยงามรูปร่างเหมือนรูปพญาครุฑนอนคว่ำหน้า จึงมีความคิดว่าน่าจะนำพระอังคารธาตุบรรจุไว้ที่แห่งนี้เมื่อลงความเห็นเป็นอันเดียวกันแล้ว  จึงได้สร้างสถานที่บรรจุพระอังคารธาตุไว้ที่ไหล่ข้างซ้ายของพญาครุฑ  และเปลี่ยนชื่อภูเขาลอยเป็นภูเขาพระอังคาร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  (ตำนานก็คือตำนาน  ยึดถือจริง ๆ ไม่ได้) 
ลักษณะทั่วไป    
ลักษณะทั่วไปภูเขาพระอังคารเขาพระอังคารเป็นประเภทเนินลาวาบซอลท์ปากกรวยภูเขา เกิดจากการประทุของภูเขาไฟ มีปากปล่องใหญ่อยู่ที่เขากระดูก และมีปากปล่องเล็กอีกหลายแห่ง การประทุของภูเขาไฟเกิดขึ้นในยุคควอเทอร์นารีหรือประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซากภูเขาไฟถ้ามองระยะไกลจะมีลักษณะเป็นเนินเขาแผ่กว้างเป็นแนวยาวเหนือใต้ ถ้ามองจากที่สูงจะเห็นเป็นรูปคล้ายพญาครุฑที่กำลังกระพือปีกหรือคว่ำหน้า หันหัวไปทางทิศใต้มีขุนเขาเขียวขจี คือหมู่บ้าน ถาวร อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนที่ลำตัวที่ต้นปีกซ้ายคือที่โบราณวัตถุและพระอังคารธาตุของพระพุทธเจ้า มีปีกซ้ายเป็นเนินเขายื่นไปทางทิศตะวันออก คือหมู่บ้านเจริญสุข  อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  ส่วนหางยื่นไปทางทิศเหนือทางบ้านสวายสอ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ภูเขาพระอังคารมียอดสูง ๓๓๑ เมตร จากระดับน้ำทะเล ปกคลุมพื้นที่ประมาณ ๙๐ ตารางกิโลเมตร
 
ความสำคัญของภูเขาพระอังคาร 
 เป็นแหล่งศึกษาด้านธรณีวิทยาเกี่ยวกับภูเขาไฟและมีความสำคัญกี่ยวกับโบราณคดี ยังมีทรัพยากรหินที่สำคัญ ทรัพยากรป่าไม้หลากหลายพันธุ์ รวมทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ   ศาสนา และวิวัฒนาการในการสร้าศาสนสถานด้วยน้ำมือมนุษย์อย่างแท้จริง ในสมัยโบราณของบรรพบุรุษของชาวอิสานใต้
 
   
 
  วัดเขาพระอังคาร 
   
 โบสถ์ 3 ยอด โบสถ์ทรงแปลก ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ พระพุทธรูป 109 องค์รอบโบสถ์
 
 
 พระพุทธรูปศิลปขอมหน้าโบสถ์ ศิลปะสร้างใหม่โจงกระเบนกษัตริย์กัมพูชา
   
การแต่งกายของ เจ้าเมืองขอมโบราณในพระตำหนัก เสด็จปู่วิริยะเมฆเจ้าเมืองขอมโบราณ ทรงเครื่องประดับเต็มยศ

สิ่งศักดิ์สิทธิ์
            
              ๑. โบสถ์ 3 ยอด
          ๒. ใบเสมาพันปี
          ๓.  พระพิฆเนศงาเดียว
          ๔. พระพุทธ 109 องค์
          ๕. พระตำหนักศักดิ์สิทธิ์
           ๖. เทวรูปเจ้าเมืองขอม
           ๗.  พระปางนาคปรกนอกโบสถ์
           ๘. รอยพระพุทธบาทจำลอง
           ๙. พระคันธารราษฎร์
           ๑๐. พระนอนกลางแจ้ง
           ๑๑. ปล่องภูเขาไฟ 
           ๑๒. ถ้ำกรรมฐาน
  

ประวัติเมืองนางรอง

สมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองนางรองหรือแคว้นพนมโรงเป็นที่อยู่ของชนชาติขอม ขอมได้ปกครองดินแดงส่วนนี้เป็นเวลานาน ได้พบซากเมืองโบราณที่แสดงว่าขอมมีอำนาจแถบนี้เป็นระยะ ๆ จากปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้ง โบราณวัตถุที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดคือ เทวรูปต่าง ๆ และหม้อน้ำดินเผาโบราณแบบขอม เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงแล้ว มอญก็เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบนี้ ทำให้เกิดชนชาติใหม่ขึ้นคือ ขอม มอญ เป็น เข-มอญ หรือเขมร ซึ่งก็คือขอมนั่นเองแต่มีเชื้อผสมระหว่างมอญกับขอม[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาเมื่อมอญเสื่อมอำนาจลง ไทยจึงได้แผ่อาณาเขตเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ต่อไป การแผ่อาณาเขตของไทยในดินแดนแถบนี้ จะเห็นได้ว่ามาจาก 2 ทางคือ ทางนครราชสีมาและทางหลวงพระบาง แต่ไม่มีหลักฐานว่ามาครั้งใด สันนิษฐานว่าไทยคงจะเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ในสมัยกรุงสุโขทัยหรือกรุงศรีอยุธยาตอนต้น หลักฐานพอจะอ้างอิงได้คือ พระพุทธรูปโบราณที่ขุดพบ ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี เมื่อไทยได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนนี้ จึงตั้งศูนย์กลางปกครองที่เมืองนางรอง มีเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันมาโดยตลอด สมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนแถบเมืองนางรอง เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองบุรีรัมย์ เมืองพุทไธสง ต่างก็มาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา โดยขึ้นกับข้าหลวงใหญ่ที่นครราชสีมา ซึ่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์โดยตั้งเมืองชั้นจัตวา เมืองนางรองเป็นหัวเมืองชั้นเอก
หลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 แล้ว คนไทยผู้มีอำนาจต่างก็ตั้งตนเป็นก๊กเป็นเหล่า ปกครองตนเองเพื่อจะกอบกู้เอกราช ครั้งแรกเจ้าเมืองนางรองได้เข้าร่วมกับก๊กกรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าเมืองพิมาย ต่อมาพระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทำการปราบก๊กต่าง ๆ จนสำเร็จ และได้ยกกองทัพมาปราบก๊กเจ้าเมืองพิมายจนได้รับชัยชนะ เจ้าเมืองนางรองเห็นว่าก๊กเจ้าเมืองพิมายพ่ายแพ้แล้ว จึงได้แยกตัวออกไปร่วมกับเจ้าเมืองจำปาศักดิ์
หลังจากพระเจ้าตากสินได้ปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ จนราบคาบแล้ว จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2332 เจ้าเมืองนางรองได้คบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอิน เจ้าเมืองจำปาศักดิ์แข็งเมืองไม่ขึ้นต่อกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาจักรีมาปราบ พระยานางรองถูกเจ้าเมืองนครราชสีมาจับตัวได้ และถูกประหารชีวิตที่ต้นโพธิ์หน้าสนามโรงเรียนนางรอง (สังขกฤษณ์อนุสรณ์) ในปัจจุบัน เมืองนางรองจึงได้ไปขึ้นต่อเมืองนครราชสีมา
เมื่อพระยานางรองถูกประหารชีวิตแล้ว ทางเมืองหลวงได้ตั้งนายปิ่นและนายมา บุตรพระยานางรองเป็นเจ้าเมืองนางรองปกครองต่อมาจนถึงพระวิเศษสงคราม (กฤษณ์ บุญญกฤษณ์) ลูกหลานของนายปิ่นได้เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมื่อพระวิเศษสงครามสิ้นอายุแล้วพระนางรองภักดี (สุดใจ บุญญกฤษณ์) ซึ่งเป็นบุตรได้เป็นเจ้าเมืองแทน ต่อมาพระนางรองภักดีถูกจับในข้อหาฆ่าพ่อตา (หลวงอุดมพนาเวช ต้นตระกูลอุดมพงษ์) ทางเมืองนครราชสีมาจึงได้แต่งตั้งหลวงยกบัตร (ต้นตระกูลสุรัสวดี) มาเป็นผู้รั้งเมืองแทน ท่านผู้นี้ได้สร้างที่ทำการและที่พักขึ้น ณ ท้องสนามชุมพลบริเวณโรงเรียนบ้านนางรอง (ยุทธกาจราษฎร์วิทยาคาร) ในปัจจุบัน เป็นอันว่าเมืองนางรองสมัยมีเจ้าเมืองปกครองก็สิ้นสุดลงเพียงนี้
ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ จัดระบบการปกครองใหม่เป็น สมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองนางรองหรือแคว้นพนมโรงเป็นที่อยู่ของชนชาติขอม ขอมได้ปกครองดินแดงส่วนนี้เป็นเวลานาน ได้พบซากเมืองโบราณที่แสดงว่าขอมมีอำนาจแถบนี้เป็นระยะ ๆ จากปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้ง โบราณวัตถุที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดคือ เทวรูปต่าง ๆ และหม้อน้ำดินเผาโบราณแบบขอม เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงแล้ว มอญก็เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบนี้ ทำให้เกิดชนชาติใหม่ขึ้นคือ ขอม มอญ เป็น เข-มอญ หรือเขมร ซึ่งก็คือขอมนั่นเองแต่มีเชื้อผสมระหว่างมอญกับขอม[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาเมื่อมอญเสื่อมอำนาจลง ไทยจึงได้แผ่อาณาเขตเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ต่อไป การแผ่อาณาเขตของไทยในดินแดนแถบนี้ จะเห็นได้ว่ามาจาก 2 ทางคือ ทางนครราชสีมาและทางหลวงพระบาง แต่ไม่มีหลักฐานว่ามาครั้งใด สันนิษฐานว่าไทยคงจะเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ในสมัยกรุงสุโขทัยหรือกรุงศรีอยุธยาตอนต้น หลักฐานพอจะอ้างอิงได้คือ พระพุทธรูปโบราณที่ขุดพบ ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี เมื่อไทยได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนนี้ จึงตั้งศูนย์กลางปกครองที่เมืองนางรอง มีเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันมาโดยตลอด สมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนแถบเมืองนางรอง เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองบุรีรัมย์ เมืองพุทไธสง ต่างก็มาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา โดยขึ้นกับข้าหลวงใหญ่ที่นครราชสีมา ซึ่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์โดยตั้งเมืองชั้นจัตวา เมืองนางรองเป็นหัวเมืองชั้นเอก
หลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 แล้ว คนไทยผู้มีอำนาจต่างก็ตั้งตนเป็นก๊กเป็นเหล่า ปกครองตนเองเพื่อจะกอบกู้เอกราช ครั้งแรกเจ้าเมืองนางรองได้เข้าร่วมกับก๊กกรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าเมืองพิมาย ต่อมาพระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทำการปราบก๊กต่าง ๆ จนสำเร็จ และได้ยกกองทัพมาปราบก๊กเจ้าเมืองพิมายจนได้รับชัยชนะ เจ้าเมืองนางรองเห็นว่าก๊กเจ้าเมืองพิมายพ่ายแพ้แล้ว จึงได้แยกตัวออกไปร่วมกับเจ้าเมืองจำปาศักดิ์
หลังจากพระเจ้าตากสินได้ปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ จนราบคาบแล้ว จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2332 เจ้าเมืองนางรองได้คบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอิน เจ้าเมืองจำปาศักดิ์แข็งเมืองไม่ขึ้นต่อกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาจักรีมาปราบ พระยานางรองถูกเจ้าเมืองนครราชสีมาจับตัวได้ และถูกประหารชีวิตที่ต้นโพธิ์หน้าสนามโรงเรียนนางรอง (สังขกฤษณ์อนุสรณ์) ในปัจจุบัน เมืองนางรองจึงได้ไปขึ้นต่อเมืองนครราชสีมา
เมื่อพระยานางรองถูกประหารชีวิตแล้ว ทางเมืองหลวงได้ตั้งนายปิ่นและนายมา บุตรพระยานางรองเป็นเจ้าเมืองนางรองปกครองต่อมาจนถึงพระวิเศษสงคราม (กฤษณ์ บุญญกฤษณ์) ลูกหลานของนายปิ่นได้เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมื่อพระวิเศษสงครามสิ้นอายุแล้วพระนางรองภักดี (สุดใจ บุญญกฤษณ์) ซึ่งเป็นบุตรได้เป็นเจ้าเมืองแทน ต่อมาพระนางรองภักดีถูกจับในข้อหาฆ่าพ่อตา (หลวงอุดมพนาเวช ต้นตระกูลอุดมพงษ์) ทางเมืองนครราชสีมาจึงได้แต่งตั้งหลวงยกบัตร (ต้นตระกูลสุรัสวดี) มาเป็นผู้รั้งเมืองแทน ท่านผู้นี้ได้สร้างที่ทำการและที่พักขึ้น ณ ท้องสนามชุมพลบริเวณโรงเรียนบ้านนางรอง (ยุทธกาจราษฎร์วิทยาคาร) ในปัจจุบัน เป็นอันว่าเมืองนางรองสมัยมีเจ้าเมืองปกครองก็สิ้นสุดลงเพียงนี้
ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ จัดระบบการปกครองใหม่เป็น กระทรวง มณฑล ได้รวมเมืองนางรอง เมืองบุรีรัมย์ เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองรัตนบุรี เมืองพิมาย เมืองพุทไธสง เข้าเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า "บริเวณนางรอง" มีพระนครภักดี (ทองดี) รักษาการแทนเจ้าเมืองนางรอง ต่อมาอาณาเขตของเมืองนางรองเปลี่ยนแปลงไปคือ เมืองรัตนบุรีไปขึ้นกับสุรินทร์ เมืองพิมายไปขึ้นกับนครราชสีมา แล้วจึงตั้งเมืองแป๊ะขึ้นเป็นจังหวัดเรียกว่า "จังหวัดบุรีรัมย์" เมืองนางรองจึงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์กระทรวง มณฑล ได้รวมเมืองนางรอง เมืองบุรีรัมย์ เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองรัตนบุรี เมืองพิมาย เมืองพุทไธสง เข้าเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า "บริเวณนางรอง" มีพระนครภักดี (ทองดี) รักษาการแทนเจ้าเมืองนางรอง ต่อมาอาณาเขตของเมืองนางรองเปลี่ยนแปลงไปคือ เมืองรัตนบุรีไปขึ้นกับสุรินทร์ เมืองพิมายไปขึ้นกับนครราชสีมา แล้วจึงตั้งเมืองแป๊ะขึ้นเป็นจังหวัดเรียกว่า "จังหวัดบุรีรัมย์" เมืองนางรองจึงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์