นิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้านทั้งที่เป็นเรื่องบอกเล่า และเป็นลายลักษณ์อักษรที่เป็นสมุดข่อยและใบลานมีแพร่หลายในภาคอีสาน โดยเฉพาะในอีสานใต้จะมีการอ้างสถานที่จริงในปัจจุบันประกอบให้ดูเป็นเรื่องจริงจังด้วย สาระของเรื่องดังนี้เจ้าชายปาจิตเป็นโอรสของกษัตริย์เมืองนครธม เจริญวัยได้ 10 ชันษา พระราชบิดาต้องการให้อภิเษกสมรสแต่เจ้าชายไม่ทรงพอพระหฤทัย จึงเสด็จออกมาแสวงหาสตรีที่อยู่ในอุดมคติได้เสด็จมาบริเวณเมืองต่ำพนมรุ้ง พบสตรีที่มีครรภ์คนหนึ่งเห็นมีลักษณะเด่นน่าสนใจจึงเข้าไปหาขอว่าถ้าบุตรในครรภ์เป็นหญิงคลอดมาแล้วรอแต่งงานด้วย แต่ถ้าเป็นชายก็จะขอเป็นพี่น้องกันตลอดไป เมื่อหญิงคนนั้นคลอดบุตรออกมาเป็นหญิงตรงกับที่ตั้งใจจึงอยู่เลี้ยงดู และช่วยงานครอบครัวนี้ตลอดจนกระทั่งเด็กหญิงคือนางอรพิมพ์เจริญวัยขึ้นพอที่จะแต่งงานได้ จึงอำลากลับไปจัดขันหมาก ทองหมั้นมาจากเมืองนครธม ขณะที่ท้าวปาจิตไม่อยู่ พระเจ้าพรหมฑัตเจ้าเมืองพิมายส่งคนมาลักตัวนางอรพิมพ์ไปบังคับแต่งงานด้วยนางอรพิมพ์ผัดผ่อนมาเรื่อยๆ ประวิงเวลาให้เจ้าชายปาจิตมารับไปเมื่อเจ้าชายปาจิตนำขันหมากมาไม่พบนางอรพิมพ์ทรงเสียใจโยนเงินทองของหมั้นลงในลำน้ำ ซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำมูล ลำน้ำนี้จึงได้ชื่อว่าลำมาศตั้งแต่นั้นมา (มาศะคือเงินทองขณะที่นางอรพิมพ์ถูกลักพาตัวไป นางนั่งร้องไห้คิดถึงท้าวปาจิต ณ จุดนั้นเป็นที่ตั้งเมืองนางรอง ปัจจุบันแต่เดิมชื่อ "นั่งร้อง" คือนางอรพิมพ์นั่งร้องไห้เจ้าชายปาจิตติดตามนางอรพิมพ์ไปถึงเมืองพิมายเป็นเวลาที่พระเจ้าพรหมฑัตจัดพิธีอภิเษกสมรสกับนางอรพิมพ์พอดี และเป็นช่วงเวลาที่จะส่งตัวนางอรพิมพ์เข้าหอเมื่อเจ้าชายปาจิตไปถึงนางอรพิมพ์ดีใจร้องออกมา "พี่มา" (พี่ชายตามมาถึงแล้ว) ตั้งแต่นั้นมาเมืองนั้นได้ชื่อว่าเมืองพี่มาและเพี้ยนเป็นพิมายภายหลังเจ้าชายปาจิตพานางอรพิมพ์หนีออกจากเมืองพิมายเดินทางกลับนครธม แต่มีอุปสรรคนานัปการจนพลัดจากกัน นางอรพิมพ์คิดว่าค0งไม่มีโอกาสพบกันอีกจึงขอแปลงเพศเป็นชาย บวชเป็นพระจนได้เป็นสังฆราช การแปลงเพศก่อนบวชพระได้นำลักษณะของหญิงฝากไว้กับต้นไม้ คือ ส่วนหน้าอกฝากไว้กับต้นงิ้วป่า หมานงิ้ว จึงมีลักษณะเหมือน "นม" สตรี ส่วนเครื่องหมายเพศหญิงนำไปฝากกับต้นมะกอกโคก (ตามภาษาลาว) แต่ภาษาเขมรเรียกว่า ต้นขะนุย ขมอยจ ซึ่งมีอยู่ตามภูเขาไฟ เช่นพนมรุ้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น