วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560
นิทานพื้นบ้าน
นิทาน ตำนาน เมือง นางรอง
ตำนานเมืองนางรอง
วรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องเมืองนางรอง มีการเล่าสืบต่อกันมาหลายสำนวน แต่ในที่นี้จะนำเสนอเพียง 2 สำนวน ดังนี้
วรรณกรรมพื้นบ้านเรื่องเมืองนางรอง มีการเล่าสืบต่อกันมาหลายสำนวน แต่ในที่นี้จะนำเสนอเพียง 2 สำนวน ดังนี้
สำนวนที่ 1 นางอรพิมพ์หนีท้าวพรหมทัตเจ้าเมืองพิมายมากับท้าวปาจิต โอรสเจ้าเมืองนครธม นางอรพิมพ์นั่งร้องไห้เพราะท้าวปาจิตต์ถูกงูกัดตายที่นี่ เลยเรียกเมืองนี้ว่า นางร้อง แล้วเพี้ยนมาเป็น นางรอง
สำนวนที่ 2 เล่าขานกันว่า สมัยของพระเจ้าชัยวรมันแห่งนครธม พระองค์มีพระราชโอรสองค์หนึ่งนาม เจ้าชายปาจิตต์ เมื่ออายุครบ 18 ชันษา โหรได้ทำนายไว้ว่าหญิงที่จะมาเป็นพระชายาของเข้าชายยังไม่ถือกำเนิด และอยู่ห่างจากนครธมมาก บิดามารดาของหญิงผู้นั้นเป็นคนธรรมดา ทำไร่อยู่ที่ภูเขาแห่งหนึ่ง สันนิษฐานว่าเป็นเขาไปรบัดหรือเขาพนมรุ้ง เวลานี้จวนถือกำเนิดจากครรภ์มารดาแล้ว ควรจะให้มีผู้พิทักษ์รักษาความปลอดภัย
เจ้าชายปาจิตต์เชื่อในคำทำนายนั้นจึงออกตามหา โหรกราบทูลเพิ่มเติมว่า บิดามารดาของหญิงผู้นั้นมีอายุเกินหกสิบปีแล้ว มารดาของหญิงนั้นไม่ว่าจะย่างเท้าไปทิศไหนก็จะมีคนกั้นร่ม หรือสัปทนให้เสมอ แต่จะมีเพียงท้าวปาจิตต์เท่านั้นที่แลเห็นนาง ที่อยู่ของหญิงผู้นี้อยู่ทางทิศพายัพของนครธม ต้องเดินด้วยเท้าหลายวันจึงจะถึง เมื่อเจ้าชายเดินทางมาทิศตะวันตกได้พบม้าลักษณะงามตัวหนึ่ง (แซะลออ เป็นภาษาเขมร แปลว่า ม้างาม) ครั้นถึงเมืองนางรองที่บ้านหินโคน สืบเสาะได้ความว่าที่เขาพนมรุ้งมีคนทำไร่ และมีลักษณะดังคำทำนายอาศัยอยู่จริง จึงได้เดินทางไปและแจ้งให้บิดามารดาของนางทราบโดยละเอียด
ต่อมาเจ้าชายได้แจ้งเรื่องไปยังพระราชบิดาที่นครธม ให้เกณฑ์ผู้คนตัดถนนฝังหลักเขตจากเขาพนมรุ้งไปถึงนครธม (ดังปรากฏหลักหินมาถึงทุกวันนี้ที่บ้านจะบวก ต.นางรอง 1 หลัก บ้านหินโคนน้อย 1 หลัก และที่บ้านหินโคนดง 1 หลัก รวม 3 หลัก หลักหินที่ฝังไว้นี้สันนิษฐานว่าคงฝังเป็นระยะทาง 400 เส้น ต่อ 1 หลัก ทางหรือถนนที่สร้างขึ้นไว้นั้น น่าจะเป็นทางเดินช่องแซะละออทุกวันนี้ แต่เพี้ยนมาเป็นช่องสายออหรือช่องกุ่ม)
หลังจากหญิงชาวไร่คลอดบุตรหญิงออกมาจนมีอายุครบ 16 ปี มีรูปโฉมงดงามมาก ชื่อ อรพิมพ์ เจ้าชายหลงใหลรักใคร่ในตัวนางมากจึงเตรียมที่จะอภิเษกตามราชประเพณี
กล่าวถึงอีกเมืองหนึ่ง คือ เมืองพิมาย ผู้ครองนคร คือ ท้าวพรหมทัต ครองเมืองหน้าด่านดูแลต่างพระเนตรพระกรรณของพระเจ้านครธม (สันนิษฐานว่าเมืองพิมายเดิมน่าจะเรียกว่าพี่มา สาเหตุมาจากนางอรพิมพ์ เมื่อพบกับเจ้าชายปาจิตต์ก็อุทานออกมาว่า พี่มา เมื่อนานเข้าก็เพี้ยนเป็นพิมาย จนทุกวันนี้) ท้าวพรหมทัตมีความร้อนรุ่นใจใคร่ออกไปเที่ยวป่า รอนแรมมาจนถึงพนมรุ้ง ตั้งค่ายพักแรมที่ริมสระน้ำใหญ่เรียกว่า สระเพลิง (อาจเป็นทะลเมืองต่ำ บ้านโคกเมือง อ.ประโคนชัย ในปัจจุบัน) อยู่ทางทิศตะวันออกของปราสาทหิน เมื่อได้ขึ้นไปบนปราสาทก็พบหญิงสาวโฉมงาม จึงอยากได้นางไปเชยชม จึงได้ให้ทหารของตนฉุดคร่านางจากบิดามารดาและทหารของเจ้าชายปาจิตต์จนสำเร็จ ท้าวพรหมทัตต์นำตัวนางอรพิมพ์ไปยังเมืองพิมายโดยไม่รู้ว่านางเป็นคู่หมั้นของท้าวปาจิตต์ ระหว่างที่เดินทางมาถึงบ้านจะบวก นางอรพิมพ์ได้ขอร้องให้ท้าวพรหมทัตหยุดพักการเดินทาง เพื่อหาโอกาสส่งข่าวให้เจ้าชายปาจิตต์ทราบ แต่ท้าวพรหมทัตไม่ยอม ครั้นเดินทางมาถึงลำน้ำทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองนางรอง นางอรพิมพ์ได้ลงจากช้างและนั่งร้องไห้ที่ริมฝั่งน้ำ ครวญถึงบิดามารดาและเจ้าชายปาจิตต์ ต่อมาได้เรียกลำน้ำนี้ว่า ลำน้ำนางร้อง และเพี้ยนมาเป็นลำน้ำนางรอง ภายหลังจากหยุดพักพอสมควรแล้วก็เดินทางต่อจนถึงเมืองพิมายโดยที่มีทหารของเจ้าชายปาจิตต์สะกดรอยตามไปจำนวนหนึ่งและอยู่ปะปนไปกับผู้คนในเมืองเพื่อหาโอกาสช่วยเหลือและรอเจ้าชายยกทัพมาสมทบ
ฝ่ายเจ้าชายปาจิตต์ยกทัพมาตามเส้นทางเดิม โดยไม่หยุดพักทั้งกลางวันและกลางคืน ผ่านบ้านแซะ (เมืองครบุรี) สระประทีป และมาสว่างที่บ้านเสิงสาง (อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ปัจจุบัน) แล้วเดินทางมาถึงลำน้ำลงเรือที่บ้านวังบุกระถิน (ลำปลายมาศในปัจจุบัน) เห็นข้าราชบริพารของท้าวพรหมทัตเตรียมเรือขันหมากไว้สองลำ เห็นดังนั้นจึงโกรธแค้นท้าวพรหมทัตมาก จึงจมเรือขันหมากเสียในลำนำนี้ (ลำน้ำนี้จึงได้ชื่อว่า ลำปลายมาศ เพราะมีทองขันหมากจมอยู่มากมาย) และเปลี่ยนจากการไปทางเรือไปทางรถม้าแทน เมื่อถึงบ้านกงรถก็ทิ้งรถไว้ ที่นี่จึงได้เรียกว่า บ้านกงรถ มาจนทุกวันนี้ (บ้านกงรถ อยู่ในเขต ต.กงรถ อ.ห้วยแถลง จ.นครราชสีมา) จากนั้นเจ้าชายได้ปลอมตัวเป็นคนสามัญ เดินทางต่อไปยังเมืองพิมายตามหานางอรพิมพ์จนพบ เมื่อพบกันครั้งแรกนางอรพิมพ์ได้อุทานด้วยความยินดีว่า พี่มาแล้ว ถึง 3 ครั้ง หลังจากนั้นเจ้าชายจึงได้ฆ่าท้าวพรหมทัต และนำตัวนาวอรพิมพ์กลับเมืองนครธม โดยเดินทางผ่านทุ่งกระเต็นในปัจจุบัน ซึ่งห่างจากเมืองพิมายมาไกลมาแล้ว และได้มีการเลี้ยงฉลองเต้นรำกันที่ทุ่งแห่งนี้ จนเรียกขานว่า ทุ่งกระเต้น ต่อมาเพี้ยนเป็น ทุ่งกระเต็น รุ่งขี้นได้เดินทางผ่านเส้นทางเดิมและวกมาทางทิศตะวันออกจนถึงทุ่งแห่งหนึ่งก็หยุดพักผ่อน ซึ่งทุ่งนี้ต่อมาเรียกว่า ทุ่งอรพิมพ์ ซึ่งอยู่ใกล้บ้านหนองทองลิ่ม ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ 100 เส้น จากนั้นออกเดินทางต่อไปถึงบ้านแซะละออเข้าสู่นครธม และได้อภิเษกกับนางอรพิมพ์เป็นกษัตริย์กับมเหสีในที่สุด (คณะกรรมฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : 121-123) **มีปราสาทชื่อ ปราสาทประจิต เป็นปราสาทร้างยังไม่ขึ้นทะเบียน อยู่บ้านหนองเสม็ด อ.นางรองด้วย
ประวัติศาสตร์ อำเภอนางรอง
ประวัติศาสตร์[แก้]
สมัยขอมเรืองอำนาจ เมืองนางรองหรือแคว้นพนมโรงเป็นที่อยู่ของชนชาติขอม ขอมได้ปกครองดินแดงส่วนนี้เป็นเวลานาน ได้พบซากเมืองโบราณที่แสดงว่าขอมมีอำนาจแถบนี้เป็นระยะ ๆ จากปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้ง โบราณวัตถุที่ค้นพบเก่าแก่ที่สุดคือ เทวรูปต่าง ๆ และหม้อน้ำดินเผาโบราณแบบขอม เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงแล้ว มอญก็เข้ามามีอำนาจในดินแดนแถบนี้ ทำให้เกิดชนชาติใหม่ขึ้นคือ ขอม มอญ เป็น เข-มอญ หรือเขมร ซึ่งก็คือขอมนั่นเองแต่มีเชื้อผสมระหว่างมอญกับขอม[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาเมื่อมอญเสื่อมอำนาจลง ไทยจึงได้แผ่อาณาเขตเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ต่อไป การแผ่อาณาเขตของไทยในดินแดนแถบนี้ จะเห็นได้ว่ามาจาก 2 ทางคือ ทางนครราชสีมาและทางหลวงพระบาง แต่ไม่มีหลักฐานว่ามาครั้งใด สันนิษฐานว่าไทยคงจะเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้ในสมัยกรุงสุโขทัยหรือกรุงศรีอยุธยาตอนต้น หลักฐานพอจะอ้างอิงได้คือ พระพุทธรูปโบราณที่ขุดพบ ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี เมื่อไทยได้เข้าครอบครองดินแดนส่วนนี้ จึงตั้งศูนย์กลางปกครองที่เมืองนางรอง มีเจ้าเมืองปกครองติดต่อกันมาโดยตลอด สมัยกรุงศรีอยุธยา ดินแดนแถบเมืองนางรอง เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองบุรีรัมย์ เมืองพุทไธสง ต่างก็มาขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา โดยขึ้นกับข้าหลวงใหญ่ที่นครราชสีมา ซึ่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์โดยตั้งเมืองชั้นจัตวา เมืองนางรองเป็นหัวเมืองชั้นเอก
หลังกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 แล้ว คนไทยผู้มีอำนาจต่างก็ตั้งตนเป็นก๊กเป็นเหล่า ปกครองตนเองเพื่อจะกอบกู้เอกราช ครั้งแรกเจ้าเมืองนางรองได้เข้าร่วมกับก๊กกรมหมื่นเทพพิพิธ เจ้าเมืองพิมาย ต่อมาพระเจ้าตากสินได้รวบรวมกำลังทำการปราบก๊กต่าง ๆ จนสำเร็จ และได้ยกกองทัพมาปราบก๊กเจ้าเมืองพิมายจนได้รับชัยชนะ เจ้าเมืองนางรองเห็นว่าก๊กเจ้าเมืองพิมายพ่ายแพ้แล้ว จึงได้แยกตัวออกไปร่วมกับเจ้าเมืองจำปาศักดิ์
หลังจากพระเจ้าตากสินได้ปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ จนราบคาบแล้ว จึงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์และตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2332 เจ้าเมืองนางรองได้คบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอิน เจ้าเมืองจำปาศักดิ์แข็งเมืองไม่ขึ้นต่อกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าพระยาจักรีมาปราบ พระยานางรองถูกเจ้าเมืองนครราชสีมาจับตัวได้ และถูกประหารชีวิตที่ต้นโพธิ์หน้าสนามโรงเรียนนางรอง (สังขกฤษณ์อนุสรณ์) ในปัจจุบัน เมืองนางรองจึงได้ไปขึ้นต่อเมืองนครราชสีมา
เมื่อพระยานางรองถูกประหารชีวิตแล้ว ทางเมืองหลวงได้ตั้งนายปิ่นและนายมา บุตรพระยานางรองเป็นเจ้าเมืองนางรองปกครองต่อมาจนถึงพระวิเศษสงคราม (กฤษณ์ บุญญกฤษณ์) ลูกหลานของนายปิ่นได้เป็นเจ้าเมืองปกครอง เมื่อพระวิเศษสงครามสิ้นอายุแล้วพระนางรองภักดี (สุดใจ บุญญกฤษณ์) ซึ่งเป็นบุตรได้เป็นเจ้าเมืองแทน ต่อมาพระนางรองภักดีถูกจับในข้อหาฆ่าพ่อตา (หลวงอุดมพนาเวช ต้นตระกูลอุดมพงษ์) ทางเมืองนครราชสีมาจึงได้แต่งตั้งหลวงยกบัตร (ต้นตระกูลสุรัสวดี) มาเป็นผู้รั้งเมืองแทน ท่านผู้นี้ได้สร้างที่ทำการและที่พักขึ้น ณ ท้องสนามชุมพลบริเวณโรงเรียนบ้านนางรอง (ยุทธกาจราษฎร์วิทยาคาร) ในปัจจุบัน เป็นอันว่าเมืองนางรองสมัยมีเจ้าเมืองปกครองก็สิ้นสุดลงเพียงนี้
ในปี พ.ศ. 2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ จัดระบบการปกครองใหม่เป็น กระทรวง มณฑล ได้รวมเมืองนางรอง เมืองบุรีรัมย์ เมืองตลุง (อำเภอประโคนชัยในปัจจุบัน) เมืองรัตนบุรี เมืองพิมาย เมืองพุทไธสง เข้าเป็นเมืองเดียวกัน เรียกว่า "บริเวณนางรอง" มีพระนครภักดี (ทองดี) รักษาการแทนเจ้าเมืองนางรอง ต่อมาอาณาเขตของเมืองนางรองเปลี่ยนแปลงไปคือ เมืองรัตนบุรีไปขึ้นกับสุรินทร์ เมืองพิมายไปขึ้นกับนครราชสีมา แล้วจึงตั้งเมืองแป๊ะขึ้นเป็นจังหวัดเรียกว่า "จังหวัดบุรีรัมย์" เมืองนางรองจึงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบุรีรัมย์
วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)