การละเล่นพื้นบ้าน
จังหวัดบุรีรัมย์เป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมทั้งนี้เป็นผลมา จากสภาพที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
ของจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งมีเขตติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา มหาสารคาม สุรินทร์ และประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเขมรต่ำ
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้จังหวัดบุรีรัมย์ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทั้แบบไทยภาคกลางจากจังหวัดนครราชสีมา ไทยอีสานากเขตติดต่อด้านจังหวัด
มหาสารคามและวัฒนธรรมเขมรจากทางด้านจังหวัด สุรนิทร์และประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย และการละเล่นของชาวบุรีรัมย์ก็มีทั้งที่เป็นแบบ
ไทยกลาง ไทยลาวและไทยเขมร โดยเฉพาะการละเล่นแบบไทยเขมร โดยเฉพาะการละเล่นแบบไทยเขมรดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับ
การละเล่นในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ ทั้งนี่เพราะดินแดนแถบนี้มีลักษณะวัฒนธรรมเป็นแบบไทยเขมรด้วยกันการละเล่นดังกล่าวมีราย
ละเอียดดังนี้
จุดมุ่งหมายของการเล่นกันตรึม สงบ บุญคล้อย (๒๕๒๒ : ๙๐ ) กล่าวว่า จุดมุ่งหมายการเล่นกันตรึม ว่า
1. เล่นตามความเชื่อของคนในท้องถิ่น เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ได้แก่ โจลมะม็วดบองบ็อด เป็นการทรงเจ้าเข้าผี
2. เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองเกี่ยวกับงานมงคลต่าง ๆ เช่น ทำบุญบ้าน บวชนาค โกนจุก บุญฉลองอัฐิ และบุญกฐิน
3. เล่นเพื่อเฉลิมฉลองในงานประจำปี เช่น ปีใหม่ สงกราต์ ลอยกระทง และเทศกาลรื่นเริง ประจำปีอื่น ๆ
4. เล่นเพื่อเป็นการรักษาศิลปะ ประเพณีการละเล่นพื้นบ้านมิให้สูญหาย
5. เล่นเพื่อเป็นการส่งเสริมหารแสดงด้านดนตรี เพราะถือว่ากันตรึมเป็นดนตรีที่มีความสำคัญมาแต่โบราณและเป็นดนตรีถือว่ามีความ
ไพเราะเข้าถึงจิตใจ ของผู้ฟังมากกว่าดนตรีประเภทอื่น ๆ
ในชุมชนที่ใช้ภาษาเขมรในเขตอีสานใต้ ซึ่งได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ ในสมัยโบราณ โดยเฉพาะงาน
แต่งงาน ถือว่าจะขาดดนตรีกันตรึม เจ้าสาวบางคนถึงกับวางเงื่อนไขว่าหากไม่เอากันตรึมมากล่อมหอ จะไม่ยอมร่วมหอลงโรงด้วยและถึง
กับมีการเลิกร้างการแต่งงานกลางคันก็มี เพราะถือว่าไม่สมบูรณ์แบบ ทำให้เจ้าสาวเสียขวัญและกำลังใจ หรืออาจจะมีอันเป็นไปอย่างใด
อย่างหนึ่งก็ได้ ซึ่งหมายถึง ซึ่งหมายถึงการหย่าร้างหรือพลัดพรากจากกันจะเห็นว่ากันตรึมก็มีรูปแบบการเล่น เช่นเดียวกับการเล่นดนตรี
ของไทยภาคกลางคือเมื่อก่อนจะเล่นต้องมีการไหว้ครู เพื่อให้เป็นศิริมงคลแก่ผู้เล่น หลังจากไหว้ครูเสร็จแล้วจึงเริ่มเล่น โดยนักแสดงจะ
ต้องเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครูก่อน เช่นกันหลังจากนั้นจึงร้องบทต่าง ๆ ไป เนื้อหาที่ร้องส่วนใหญ่เป็นการเกี้ยวพาราสีกัน และร้องโต้ตอบกัน
ระหว่างฝ่ายขายและฝ่ายหญิง เช่นเดียวกับการเล่นพื้นเมืองของภาคกลาง เช่น รำตัด หรือเพลงสักวา สำหรับภาษาที่ใช้ร้องส่วนมากจะใช้
ภาษาไทยเขมร กลอนที่ร้องส่วนมากจะใช้การท่องจำกลอนร้องที่ ตกทอดกันม
กันตรึมเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมมาก ในเขตอีสานใต้ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และสุรินทร์ กัน
ตรึมเป็ฯการละเล่นที่ใช้ภาษาในการขับร้องเป็นภาษาเขมร มีบทร้องทำนองสนุกสนาน ประวัติความเป็นมาของกันตรึม สงบ บุญคล้อย
(๒๕๔๖ : ๑๖๒ )กล่าวว่า กันตรึมหรือโจ๊ะกันตรึม เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวอีสานใต้ เป็นการละเล่นที่มีดนตรีประกอบ และ
ถือว่าดนตรีประกอบ และถือว่าดนตรี มีความสำคัญและมีบทบาทมากที่สุด ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ส่วนคำร้องเป็นของชาวเขมรสูงที่มี
ในสามจังหวัด คือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ การเล่นกันตรึมได้รับความนิยมมากในแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์และศรีสะเกษ จากการ
สืบประวัติการเล่นกันตรึมไม่ค่อยได้รายละเอียดมากนัก ทราบแต่เพียงว่าการเล่นแบบนี้ได้รับการถ่ายทอดมาแต่ขอม แต่เดิมการเล่นใช้
สำหรับประกอบการบวงสรวงเวลามีการทรงเจ้าเข้าผี หรืองานพิธีกรรมก็ใช้ดนตรีกันตรึม บรรเลงกันเป็นพื้นบ้าน ซึ่งต่างกันในจังหวะลีลาจะ
แตกต่างกันไปตามพิธีแต่ละงาน กล่าวคืองานแต่งงานก็บรรเลงอย่างหนึ่ง งานศพอย่างหนึ่ง และเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงก็ต้องให้เหมาะ
สมกับงาน แต่ถ้าเป็นงานศพก็มักจะใช้ปี่อ้อ(แป็ยออ) มาบรรเลง แต่ถ้าเป็นงานแต่งงานมักใช้ปี่เตรียงหรือ ปี่เญ็นแทนปี่อ้อ เป็นต้น
สงบ บุญคล้อย (๒๕๒๑ : ๙๘ - ๑๐๐) กล่าวว่า ประเพณีการเล่นเรือมลูดอันเรนี้เป็นมรดกตกทอดสืบมาแต่โบราณ
ไม่สามารถสืบทราบได้ว่าใครเป็นผู้คิดขึ้น จากปากคำของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อกันมาว่า การเล่นเรือมลูดอันเรนี้ เดิมไม่มีจังหวะจะโคนอะไร ต่อมา
ได้วิวัฒนาการจน เป็นจังหวะลีลาอ่อนช้อย สวยงาม เข้าใจว่าในสมัยโบราณในยามค่ำคืนที่เสร็จสิ้นภาระกิจประจำวันสาว ๆ ก็พากันตำข้าวกับครก
ใบใหญ่ หนุ่มที่ว่างงานก็เดินเป่าขลุ่ยมาเกี้ยวสาวตามที่ดังกล่าว พอเสร็จงานตำข้าวหนุ่มสาวก็พากันเล่น กระทบสากเพื่อความสนุกสนานให้เป็น
จังหวะ (เดิมยังไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ) หนุ่มที่อยากแสดงความสามารถอวดสาว ๆ ก็จะ รำเข้าสากที่เรียกกันว่า “ลูดอันเร” (ลูดหมาย
ความว่ากระโดดข้ามเข้า อันเร แปลว่า สาก) ส่วนหนุ่มสาวคู่อื่น ๆ ก็จะรำอยู่นอกวง แต่ถึงอย่างไรในตอนนั้นก็รำไปเรื่อย ๆ เอาสนุก โดยไม่มี
จังหวะเป็นมาตรฐานอย่างปัจจุบันต่อมาการเล่นแบบนี้แพร่หลายกันไปมากจึงมีผู้คิดกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้น คือให้เล่นได้เฉพาะเดือน ๕ ซึ่ง
เรียกเป็นภาษาพื้นเมืองว่า “แคเจตร” (แจตร-จิตรมาส)การเล่นมีระยะเวลา ๑ เดือนเต็มในเดือนนี้เป็นเดือน ที่จะต้องมีการหยุดทำการ
งานทุกอย่าง ผู้หญิงจะหยุดทอผ้าผู้ชายจะหยุดเลื่อยไม้ เป็นต้น การหยุดนี้ถือเป็นธรรมเนียมของชาวพื้นเมือง ที่ถือกันมาแต่โบราณ การหยุดดนี้
ชาวบ้านเรียกว่า “ตอม”(ตอม หมายความว่า งดเว้น) และยังถือกันว่าเมื่อถึง“แคเจตร” แล้วไม่หยุดงาน ผู้ใดยังดื้อดึงทำงานอยู่จะไม่
เป็นสิริมงคลแก่ตัวเองบางที่อาจถึงฟ้าผ่าตายได้ด้วยสาเหตุที่ต้องหยุดงานตามประเพณีนี้เองจึงทำให้มีเวลา ว่างมากจึงมีการละเล่นสนุกอย่าง
อื่น ๆ อีก เช่นการละเล่นสะบ้าเล่นสงกรานต์ และการเรือมตรด เป็นต้น
กะโน๊บติงตอง เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมกันมากในแถบอิสานใต้ แหล่งกำเนิดของการรำชนิดนี้ คือที่จังหวัด
สุรินทร์ เป็นการเล่นที่เลียนแบบลีลาการกระโดดเคลื่อนตัวของตั้กแตนตำข้าว ซึ่งเป็นลำตัวสีเขียว ดังนั้นผู้เล่นจึงต้องแต่งตัวเลียนแบบตัวตั๊กแตน
และสวมหัวตั๊กแตน มีลูกตาเป็นลักษณะเหมือนตั๊กแตนทุกประการ ประวัติความเป็นมา สงบ บุญคล้อย (๒๕๒๑ : ๑๐๒ - ๑๐๔) กล่าว
ว่า มีเรื่องเล่าว่าชาวนาคนหนึ่งชี่อ ตาเหมือน มีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านรำเบอะ ตำบลไพล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ กลับจากป่ามาจะได้สัตว์หรือ
ไม่ได้ก็ไม่เคยเป็นกังวลอะไร จะถูกภรรยาด่าว่าก็ยิ้มรับเสมอ เพราะท่าน มีอุปนิสัยเป็นคนเยือกเย็น วันหนึ่งท่านได้ออกไปดูข้าวที่ทุ่งนาและได้เอา
ไซไปดักปลาด้วยเมื่อเอาไไซไปว่างดักปลาแล้วก็ได้พักผ่อนอยู่ใต้ร่มไม้ริมลำธาร นั่งเอนหลังพิงต้นไม้อย่างสงบ และได้เพ่งสายตาไปยังทุ่งนา มอง
ดูข้าวที่กำลังงามเขียวชอุ่ม ในขณะนั้นได้เห็นตั๊กแตนตำข้าวสองตัวเกาะ อยู่บนใบข้าวตั๊กแตนสองตัวนั้นกำลังหนหน้าเข้าหากัน ทำท่าเหมือนกำลัง
เกี้ยวพาราสีกัน ท่านพยายามเพ่งสายตามมองและ เกิดความประทับใจในท่าทางต่าง ๆ ของมัน ทำให้เกิดความคิดว่าถ้าหากนำลักษณะการเต้น
ของมันไปประยุกต์ในทางร่ายรำของคนคงจะดีไม่น้อย ท่านจึงได้สังเกตจดจำท่ารำของตั้กแตนตำข้าวทั้งสองตัวนี้ไว้อย่างละเอียดลออ เมื่อกลับถึง
บ้านตาเหมือนจึงได้จัดให้เด็กลายคนเต้นตามลีลาที่แกบอก แต่การเต้นในระยะแรก ๆ ของเด็กดังกล่าวยังไม่มีการสวมชุดดังการเล่นในปัจจุบัน
การละเล่นแบบนี้เริ่มเป็นแบบอย่างขึ้นที่หมู่บ้านนั้น ต่อมาได้แพร่หลายไปยังหมู่บ้านอื่น เริ่มมีการสวมชุดเหหมือนตั๊กแตนตัวจริงต่อมาครูใหญ่
โรงเรียนปราสาทศึกษาคารในสมัยนั้น ได้ทดลองเป็นหมู่ เป็นที่ประทับใจแก่คนดูเป็นอันมาก ต่อมาจึงได้จัดส่งการแสดงไปเล่นในงานช้างจังหวัด
สุรินทร์ การแสดงดังกล่าว จึงแพร่หลายตลอดมา
การละเล่นพื้นเมืองของชาวอีสานใต้ที่ได้รับการสืบทอดมาแต่โบราณอีกประเภทหนึ่ง คือ การละเล่นมโหรี ซึ่งยังคงนิยมอยู่
ในปัจจุบัน และยังเป็นดนตรีที่เป็นพื้นฐานของเล่นอื่น ๆ เช่น อาไยกระโน้บติงตอง กันตรึม การเรือมลูดอันเร บรรเลงประเกอบพิธีกรรมต่าง ๆ
เช่น โจลมะม๊วด บ็องบ็อด ประกอบทั้งการประโคมในงานพิธีต่าง ๆ ทั้งงานมงคลและอวมงคล เช่น งานแต่งงาน ทอดกฐิน ขึ้นบ้านใหม่ การ
โกนจุก งานทำบุญศพ เป็นต้น
เจรียงเป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวอีสานใต้มีลักษณะเหมือนกับหมอลำหรือเพลงโคราชนั่นเองดนตรีที่ใช้ประกอบใน
การเจรียง หรือ แคน การเจรียง ประกอบด้วย ฝ่ายชาย ๑ คน และฝ่ายหญิง ๑ คน และคนเป่าแคนอีก ๑ คน เจรียงโต้ตอบกันไปมา การเจรียง
จะเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู ปฏิสันธารกับผู้ฟัง และเจรียงเป็นการบอกกล่าวถึงความสำคัญของงานนั้น ๆ ว่ามีการบำเพ็ญกุศลอะไร มีอานิสงส์อย่าง
ไร บางครั้งก็มีการยกนิทานประกอบก็ได้บางครั้งการเจรียงอาจเป็นเชิงกระทู้ถามคือฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ถามอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ตอบ
ทำนองการ ปุจฉา –วิสัชนา หลังจากนั้นจึงเจรียงโดยทั่วไป ลักษณะการเจรียงในตอนหลังจะเพิ่ม รสสนุกสนานด้วยการใช้คำเป็นที่พออกพอใจ
แก่ผู้ฟัง เรียกเสียงเฮฮา จึงมักเป็นหยอกล้อกระทบกระเทียบกระเดียดไปทางตลกคะนองตามแบบฉบับของการละเล่นพื้นเมืองโดยทั่วไป การ
เจรียงแบบนี้บางที เรียกว่า “ เจรียงเบริน” มีการเจรียงอีกประเภทหนึ่งที่เคยได้รับความนิยมมาก คือ การเจรียงนิทาน ผู้เจรียงจะนำ
นิทานเก่า ๆ มาเจรียง เช่น กดามซอ (ปูขาว) ซังเซลจ็อย (สังข์ศิลป์ชัย) ฯลฯ มาเจรียง การเจรียงแบบนี้ได้รับความนิยมเท่ากับกันตรึม
ลักษณะการเล่นคล้าย ๆ หมอลำ คือ มีแคนประกอบ ภาษาที่ใช้ภาษาเขมร ปัจจุบันคนที่เล่นเจรียงได้มักเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งนับวันก็จะหมดไป
สงบ บุญคล้อย (๒๕๒๑ : ๑๐๙ - ๑๑๐) กล่าวว่า ระบำตลอกนี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ อันเป็นผล
มาจากความนิยมของชาวบ้านในการปลูกมะพร้าวในแถบอีสานใต้มีลักษณะอย่างหนึ่ง ที่แตกต่างกันไปจากชาวอีสานโดยทั่ว ๆ ไป คือหมู่บ้าน
จะมีต้นมะพร้าวขึ้นร่มครึ้ม ความนิยมปลูกมะพร้าวมีมาแต่โบราณ เขาถือกันว่า เมื่อลูกหลานแต่งงาน พ่อแม่จะมอบที่ดินให้ทำกิน และเป็นที่
ปลูกบ้าน ก่อนอื่นจะปลูกมะพร้าวไว้ก่อน การปลูกมะพร้าวเป็นการแสดงถึงการแสดงถึงความมั่นคงเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ เพราะการปลูกมะพร้าว
ในภาคอีสานนั้นปลูกยากกว่าจะขึ้นต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ มีความอดทนขยันหมั่นเพียร ดูแลรักษากว่าจะมี ลูกให้กินได้ต้องใช้เวลาหลายปี
การปลูกมะพร้าวถือเป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งในการขึ้นโคกใหม่ดังนั้นในแถบหมู่บ้านชาวอีสานใต้จึงมีมะพร้าวขึ้นเขียวชะอุ่ม หลังจากเก็บ
เกี่ยวข้าวแล้วจัดเป็นระยะเวลาที่ว่างงานจะเข้าสู่เดือนหยุดงาน หนุ่มสาวจะนั่งขัดกะลามะพร้าวกันที่ลานบ้าน กะลามะพร้าวที่ขัดนี้สามารถนำ
ไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำทัพพี ทำกระบวยตักน้ำ ฯลฯ ตอนนี้หนุ่มสาวจะเจียดมะพร้าว ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ประโยชน์ในการร่ายรำสนุก
สนาน การร่ายรำด้วยกะลามะพร้าวมีเคล็ดอยู่ว่าถ้าคู่ใดรำแล้วสามารถเคาะกะลามะพร้าวแตกคู่นั้นคาดว่าจะได้แต่งงานกัน เล่นกันหลังฤดูเก็บ
เกี่ยวเสร็จแล้ว เพื่อเป็นการฉลองความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาที่ได้แสดงความสามัคคีที่ชาวบ้านช่วยกันลงแขกเกี่ยวข้าว ซึ่งเป็นการรื่นเริง
ชนิดหนึ่ง
ดงลำไย เป็นการละเล่นของชาวเมืองบุรีรัมย์ ในอดีตที่เคยได้รับความนิยมมาก แต่ปัจจุบันแทบจะไม่มีให้เห็น ได้ยินแต่คน
เฒ่าคนแก่เล่าบอกต่อกันมา สาเหตุที่เรียกว่า ดงลำไย เพราะการแต่งเนื้อร้องคำสุดท้ายของวรรครับจะต้องลงท้ายด้วยเสียงสระไอ จะเห็นว่าดง
ลำใยเป็นการละเล่นพื้นเมืองอีกชนิดหนึ่งของชาวพื้นเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ การละเล่นชนิดนี้จะแพร่หลายในกลุ่มชาวไทยโคราช ในเขตอำเภอ
นางรอง หนองกี่ อำเภอเมือง ซึ่งเป็นเขตที่มีกลุ่มไทยโคราชอยู่มาก ลักษณะการเล่นดงลำไยจะคล้ายกับเพลงฉ่อยของไทยภาคกลาง ภาษาที่
ใช้ก็ใช้ภาษาไทยกลางเป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่างชายและหญิง ทำนองเกี้ยวพาราสีกัน และจะมีสร้อยลงท้ายด้วยเสียงสระไอส่วน สร้อยเพลง
จะมีคำว่า ดงไหนเอยฮาเอ้ยลำไย กลอนเพลงจะแสดงไหวพริบปฏิภาณของคนร้อง ปัจจุบันการเล่นชนิดนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยม ผู้ร้องดงลำไย
ส่วนใหญ่จะเป็นคนสูงอายุซึ่งนับวันจะหมดไปจึงควรที่ผู้สนใจเรื่องเพลงพื้นบ้านจะได้เก็บรวบรวมข้อมูลของการละเล่นชนิดนี้เอาไว้ เพื่อได้นำ
กลับมาฟื้นฟูอีกครั้งเพื่อเป็นการอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านเหล่านี้ให้คงอยู่ตลอดไป